กับตัวเองที่สุด?
E-Learning เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น สถาบันการศึกษาหลายแห่งหันมาปรับการเรียนการสอนอยู่ในพื้นที่ออนไลน์มากขึ้น และมาพีคสุดๆ ในปี 2020 ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่หรือ โควิด-19 (COVID-19) ที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกถูกจำกัดบริเวณ ไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ รวมถึงการไปเรียนหรือสอนหนังสือที่โรงเรียนด้วย
โชคดีที่ว่า E-Learning ไม่ใช่เรื่องใหม่ จึงไม่ต้องรอเวลาพัฒนาเพื่อใช้งาน ทุกคนก็สามารถเข้าถึงระบบการสอนออนไลน์ได้แทบทันทีหากมีอุปกรณ์และระบบอินเตอร์เน็ตอยูในมือ อีกทั้ง ระบบการเรียนออนไลน์ยังมีหลายรูปแบบให้เลือก วันนี้ WOW จึงมาเปรียบเทียบระบบ E-Learning ซึ่งอยู่ 4 แบบหลักๆ ในปัจจุบันให้ดูว่า มีรูปแบบไหนบ้าง และสถาบันการศึกษาหรือผู้เรียนควรเลือกระบบ e learning แบบไหน ถึงจะเข้ากับตัวเองที่สุด
ระบบ E Learning คือ อะไร และ LMS คือ อะไร?
LMS ย่อมาจาก Learning management System คือ แอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์เพื่อการเรียนหรือการฝึกฝน ระบบสามารถทำได้ทั้งบริหาร จัดทำเอกสาร ติดตามผล รายงาน และที่สำคัญคือ นำเสนอคอร์สเรียนให้กับผู้เรียนได้ LMS ส่วนใหญ่สามารถจัดการข้อมูลได้ทุกรูปแบบ เช่น วิดีโอ คอร์สเรียน และเอกสาร
สองอย่างนี้ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน?
อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน หากเราพูดถึง E Learning จะไม่เท่ากับ LMS เพราะ e learning หมายถึง การเรียนออนไลน์ ซึ่งจะเกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มออนไลน์ใดก็ได้ แต่ LMS จะเป็นแอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษาโดยเฉพาะ หมายความว่า LMS อยู่ในระบบ e learning ทั้งหมด ทีนี้เรามาดูข้อมูลของแต่ละระบบอย่างละเอียดกันว่าแต่ละแบบเป็นอย่างไร และมีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง
อ่าน : เว็บที่ดี เว็บสวย หน้าตายังไง? เว็บไซต์เราต่างจากคู่แข่งได้อย่างไร?
4 ทางเลือก ระบบเรียนออนไลน์ E-Learning
1. ระบบ Learning Management Systems (LMS)
Learning Management Systems (LMS) เป็น ทางเลือกหรือรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ที่คนนิยมใช้มากที่สุด ผู้สอนและผู้เรียนสามารถใช้งาน LMS ได้เสมือนเป็นห้องเรียนจริงๆ เลย ทั้งการเปิดคลาสอภิปรายในชั้นเรียน อัพโหลดไฟล์การอ่าน แสดงคลิปวิดีโอหรือเล่นคลิปเสียง รวมถึงประเมินการเรียนหรือประกาศผลการสอบก็ทำได้หมด
ระบบ LMS ยังสามารถเก็บไฟล์การเรียนการสอนในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ไฟล์ MS Office วิดีโอ หรือแม้แต่แอปพลิเคชัน และส่งต่อไปหาบุคคลอื่นได้ เมื่อพูดถึงความกว้างขวางของแพลตฟอร์มประเภทนี้ก็เป็นระบบให้คนใช้งานได้พร้อมกันหลายคนได้
ทางเจ้าของแพลตฟอร์มยังเลือกได้ว่าจะเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ที่ตั้งอยู่ที่ใดที่หนึ่ง เช่น โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา หรือเก็บไว้บนระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบ Cloud ซึ่งทางเลือกอย่างหลังก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในเวลานี้
ฟีเจอร์หลักหรือมาตรฐานของ LMS โดยทั่วไป
- ระบบเก็บข้อมูลเชิงสถิติเพื่อประเมินและสรุปเป็นรายงาน (Analytics)
- แอปพลิเคชัน
- ระบบส่งงาน/การบ้าน (Assignment)
- พื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรืออภิปราย (Forum)
- พื้นที่อัพโหลด/ดาวน์โหลดไฟล์
- ระบบให้คะแนน (Grading)
- ระบบส่งข้อความอัตโนมัติ
- ปฏิทินออนไลน์
- ข่าวสารและการประกาศออนไลน์
- การสอบออนไลน์ (Quiz)
- สารานุกรมออนไลน์
- ระบบเชื่อมต่อกับโซเชียลมีเดีย (Social Media Widgets)